วิธีเปลี่ยนมิเตอร์กับการไฟฟ้าฯ หลังติดตั้งตู้ชาร์จไฟฟ้ารถยนต์

อยากเปลี่ยนมิเตอร์ หลังติดตั้งตู้ชาร์จไฟฟ้ารถยนต์ ต้องทำอย่างไร ?

หากต้องการเพิ่มขนาดมิเตอร์ไฟฟ้าหรือเปลี่ยนมิเตอร์เป็นแบบ TOU (Time of Use Tariff) สามารถดำเนินการได้ที่การไฟฟ้าฯตามเขตที่ระบุไว้ในบิลค่าไฟหรือสามารถดำเนินการทางออนไลน์ได้เช่นกัน ช่องทางติดต่อหากมีข้อสงสัยเพิ่มเติมการไฟฟ้านครหลวง MEA Call Center 1130

ก่อนทำการดำเนินเรื่องขอเพิ่มขนาดมิเตอร์ไฟฟ้าเราต้องเตรียมระบบวงจรให้พร้อมกับขนาดมิเตอร์ใหม่ที่ต้องการเพิ่ม ในการเพิ่มขนาดมิเตอร์เพื่อทำการติดตั้งตู้ชาร์จไฟฟ้ารถยนต์นั้น การไฟฟ้านครหลวงอนุญาตให้ติดตั้งเมนวงจรที่สองสำหรับเครื่องชาร์จโดยเฉพาะได้ มีข้อกำหนดตามนี้

  • พิกัดกระแสไฟฟ้าของ Main Circuit Breaker ทั้งสองวงจรต้องรวมกันไม่เกินพิกัดสูงสุดตามที่ขนาดมิเตอร์ระบุไว้ เช่น ขอเพิ่มขนาดมิเตอร์เป็นขนาด 30(100)A ค่าพิกัดของ Main CB ต้องไม่เกิน 100 A
  • ต้องติดป้ายบริเวณ Main CB ของทั้งสองวงจร เพื่อระบุตำแหน่ง Main CB ของวงจรที่หนึ่งกับวงจรที่สองสำหรับเครื่องชาร์จ
  • ห้ามต่อสายเฟสหรือสายนิวทรัลข้ามระหว่างสองวงจร

วิธีเปลี่ยนมิเตอร์กับการไฟฟ้าฯ หลังติดตั้งตู้ชาร์จไฟฟ้ารถยนต์

ดำเนินเรื่องที่เขตการไฟฟ้า

เอกสารที่ต้องเตรียมในกรณียื่นในนามบุคคล

  • สำเนาบัตรประชาชน
  • สำเนาทะเบียนบ้านที่จะขอติดตั้ง
  • กรณีไม่ใช่เจ้าบ้านต้องใช้เอกสารแสดงความเกี่ยวพันธ์ เช่น สัญญาซื้อขาย
  • บิลค่าไฟ
  • สำเนาเอกสารเปลี่ยนชื่อในกรณีที่มีการเปลี่ยนชื่อ
  • ใบคำขอใช้ไฟฟ้า สามารถดาวน์โหลดได้ที่เว็บไซต์การไฟฟ้านครหลวง
  • ใบมอบอำนาจและสำเนาบัตรประชาชนผู้รับมอบในกรณีไม่ได้ดำเนินเรื่องด้วยตนเอง

เอกสารที่ต้องเตรียมในกรณียื่นในนามนิติบุคคล

  • หนังสือรับรองบริษัทไม่เกิน 6 เดือน
  • สำเนาบัตรประชาชนกรรมการผู้มีอำนาจ
  • สำเนาทะเบียนบ้านที่ขอเปลี่ยนมิเตอร์ไฟฟ้า
  • ใบคำขอใช้ไฟฟ้า สามารถดาวน์โหลดได้ที่เว็บไซต์การไฟฟ้านครหลวง
  • ใบมอบอำนาจและสำเนาบัตรประชาชนผู้รับมอบ พร้อมกรรมการผู้มีอำนาจลงชื่อพร้อมประทับตราบริษัทฯในกรณีไม่ได้ดำเนินเรื่องด้วยตนเอง

ดำเนินเรื่องผ่านทางออนไลน์

ในการติดตั้ง EV Charger ที่บ้าน สามารถดำเนินเรื่องผ่านทางออนไลน์ได้ที่ https://eservice.mea.or.th/measy

เปลี่ยนมิเตอร์กับการไฟฟ้าฯ ออนไลน์หลังติดตั้งตู้ชาร์จไฟฟ้ารถยนต์

ค่าใช้จ่ายในการเพิ่มขนาดมิเตอร์ไฟฟ้า

สำหรับ 1 Phase

ขนาด ค่าตรวจ
15 (45) 700
30 (100) 700
50 (150) 700

สำหรับ 3 Phase

ขนาด ค่าตรวจ
15 (45) 700
30 (100) 1,500
50 (150) 1,500
200 2,500
400 2,500

สำหรับ TOU ค่าตรวจตามขนาดมิเตอร์ที่ต้องการและเพิ่มค่าใช้จ่ายอีก 6,640 บาท

ระยะเวลาในการดำเนินการ

  • มิเตอร์ขนาด 5(15)A – 15(45)A ใช้เวลาภายใน 4 วันทำการ
  • มิเตอร์ขนาด 30(100)A – 50(150)A ใช้เวลาภายใน 8 วันทำการ
  • มิเตอร์ขนาด 200A – 400A ใช้เวลาภายใน 18 วันทำการ

ระยะเวลาดังกล่าวนับตั้งแต่ยื่นเอกสาร ชำระค่าธรรมเนียม และการติดตั้งอุปกรณ์ไฟฟ้าภายในถูกต้องในการตรวจครั้งแรก

สำหรับใครที่ต้องการติดตั้ง EV Charger เพื่อเพิ่มความสะดวกสบาย พิธาน กรีน เราคือผู้เชี่ยวชาญด้านการติดตั้ง EV Charger ที่บ้าน ให้บริการอย่างครบวงจร ตั้งแต่การออกแบบ ติดตั้ง จำหน่ายเครื่องชาร์จรถยนต์ไฟฟ้า ไปจนถึงการให้บริการหลังการขาย มีแพลตฟอร์มรองรับการใช้งานที่สะดวก รวดเร็ว สนใจข้อมูลเพิ่มเติมติดต่อเจ้าหน้าที่ของพิธาน กรีน ได้เลย

OTHER ARTICLE

เกณฑ์ประกันรถยนต์ไฟฟ้า ปี 2567
Article
08/10/2024
สรุป 6 เกณฑ์ประกันรถยนต์ไฟฟ้าปี 67 ผลกระทบที่คนใช้ EV ควรรู้

เจาะลึกรายละเอียดการปรับเกณฑ์ประกันรถยนต์ไฟฟ้าปี 67 พร้อมผลกระทบที่ผู้ใช้รถ EV ต้องรู้ก่อนซื้อกรมธรรม์ แต่จะมีรายละเอียดอย่างไร หาคำตอบได้ในบทความนี้

การติดตั้งสถานีชาร์จที่บ้านช่วยถนอมค่า SoH แบตเตอรี่
Article
05/07/2024
คนรักรถ EV ต้องรู้ ! ค่า SoH Battery คืออะไร

ค่า SoH แบตเตอรี่ หรือ State of Health คือตัวชี้วัดสำคัญที่บ่งบอกถึงสุขภาพโดยรวมของแบตเตอรี่รถยนต์ไฟฟ้า

ค่า SoC แบตเตอรี่คือสิ่งที่เกี่ยวข้องกับแบตเตอรี่รถ EV
Article
05/07/2024
ถ้าอยากขับรถ EV ค่า Soc แบตเตอรี่คือสิ่งที่ควรรู้

SoC หรือที่ย่อมาจาก State of Charge คือเกณฑ์บ่งบอกระดับพลังงานที่เหลืออยู่ในแบตเตอรี่ของรถยนต์ไฟฟ้า

Discover the best electric charging experience with us.

EV Chargers, Installation services, Charging station design
and decoration with high standards controlled by specialists.

CONTACT US
logo
Contact Information

sales@phithangreen.com 065-628-5566